News / Announcement

STS MANAGEMENT GROUP CO..LTD
Announcement
วันวิสาขบูชา 2562
ประชาสัมพันธ์
May 17, 2019

วันวิสาขบูชา 2562

ขอบคุณข้อมูล https://hilight.kapook.com/view/23220 วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเป็นวันหยุดราชการของไทย ซึ่งประวัติวันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มาบรรจบกัน ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียนที่วัด             สำหรับ วันวิสาขบูชา 2562 ตรงกับวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของวันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของวันวิสาขบูชา และอ่านประวัติวันวิสาขบูชา พร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ   ความหมายของวันวิสาขบูชา คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 การกำหนดวันวิสาขบูชา  วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่... 1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา" เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส 2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย    สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ - ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ - ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย - ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขยญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา   3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงพระประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น                                                        ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย             ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่น ๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6...

Read More
ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ
ประชาสัมพันธ์
May 8, 2019

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ระหว่างวันที่ 4-6 พ.ค. 2562 ถือเป็นพระราชพิธีครั้งที่ 12 นับตั้งแต่มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์มา 237 ปี นับจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในเมื่อ 5 พ.ค. 2493 ประเทศไทยก็ได้ว่างเว้นจากพระราชพิธีนี้มานานถึง 69 ปี

Read More
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.๑๐
ประชาสัมพันธ์
May 2, 2019

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.๑๐

พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวังเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และนับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

Read More
ยินดีกับท่านถวัลย์ รุยาพร เป็นนายกสภาทนายฯ 2 สมัยซ้อน
April 23, 2019

ยินดีกับท่านถวัลย์ รุยาพร เป็นนายกสภาทนายฯ 2 สมัยซ้อน

เผยผลนับคะแนนเลือกตั้งนายกสภาทนายความคนใหม่ ล่าสุดว่า ที่ร้อยตรี ถวัลย์ รุยาพร คะแนนนำโด่งอันดับหนึ่ง 6,510 คะแนน จ่อนั่งเก้าอี้ต่ออีก 1 สมัย ส่วน เดชอุดม ไกรฤทธิ์ อดีตนายกฯ ได้ที่สอง 5,318 คะแนน สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ในช่วงเช้าวันที่ 22 เม.ย.2562 เว็บไซต์ ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง นายกและคณะกรรมการสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ http://landing.thailawyerelection.com/i-vote/?fbclid=IwAR2klp5iWY4dPR08m-qyy-042r9edYeRdCTsA6VOBxvrPx0GPB6jqa-bkDA ได้เผยแพร่ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกสภาทนายความคนใหม่ จากจุดนับคะแนนทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร และ ภาค 1-9 รวมจำนวน 157 หน่วย โดยผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ณ เวลา 08.30 น. ปรากฎว่า ว่าที่ร้อยตรี ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความคนปัจจุบัน (เข้ารับตำแหน่งปี 2559-ปัจจุบัน) ในฐานะผู้สมัครนายกสภาทนายความ หมายเลข 2 ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด 6,510 คะแนน ส่วนนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ อดีตนายกสภาทนายความ 3 สมัยในช่วงปี 2547 -2559 ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้รับคะแนนเสียง เป็นอันดับสอง จำนวน 5,318 คะแนน ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ระบุว่า ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร เกิดวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร จบมัธยมปลายโรงเรียนวัดราชาฯ เรียนรด. ปี 5 ได้ว่าที่ร้อยตรี ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสยาม อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่ง รองนายกสมาคมนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการกฎหมาย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ประธานกรรมการบริษัท โฮม ลอว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ เป็น อาจารย์ประจำเนติบัณฑิตยสภา วิชาว่าความและการถามพยาน # กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/

Read More
Multimedia

นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่อะไรบ้าง?

สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในอาคารชุด

ค่าส่วนกลางไม่จ่ายก็ได้หรือ?

เปิดตัวบริษัทฯ

บริษัท STS Management Group จัดสัมนาพนักงาน EP.01
บริษัท STS Management Group จัดสัมนาพนักงาน EP.02
บริษัท STS Management Group จัดสัมนาพนักงาน EP.03
บริษัท STS Management Group จัดสัมนาพนักงาน EP.04

ปล่อยห้องเช่ารายวันในคอนโดทำได้หรือไม่?
วันนี้เรามีคำตอบที่นี่

เคดิต.บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์แมเนจเม้นท์ จำกัด

 

บรรยากาศการ​ร่วมทำบุญกับหลวงพ่ออลงกต แห่งวัดพระบาทน้ำพุ
เมื่อวัน พุธ ที่ 22 กรกฎาคม 2563 ณ บริษัท เอสทีเอส แมเนจเม้นท์ กรุ๊ป จํากัด
บุญกุศลครั้งนี้ขอมอบให้แก่ทุกคนทุกท่าน สาธุครับ

“SERVICE TO SUCCESS”

STS Management group Co., Ltd.